วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2) VDO บริษัท จำกัด (การบันทึกการจำหน่ายหุ้นทุนงวดเดียว)
ป้ายกำกับ:
วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
(วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2) บทที่ 8 การจำหน่ายหุ้นทุน
การจำหน่ายหุ้นทุน
การจำหน่ายหุ้นของบริษัท มี 2 ชนิดคือ หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ สามารถจำหน่ายได้ 3 ราคา คือ
- ราคาตามมูลค่า (At Par)
- ราคาสูงกว่ามูลค่า (At a Premium หรือ Above Par)
- ราคาต่ำกว่ามูลค่า (At a Discount หรือ Below Par)
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1105 ห้ามออกหุ้นต่ำกว่าราคามูลค่าที่ตั้งไว้ จะออกหุ้นสูงกว่ามูลค่าได้แต่ต้องระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด สามารถจำหน่ายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าได้ในกรณีที่บริษัทดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีการขาดทุนแต่ต้องได้รับความเห็นจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ดังนั้นการจำหน่ายหุ้นของบริษัทจำกัดมี 2 ราคา คือ ราคาตามมูลค่าและราคาสูงกว่ามูลค่า ส่วนบริษัทมหาชนจำกัดจำหน่ายหุ้นได้ 3 ราคา คือ ราคาตามมูลค่า ราคาสูงกว่ามูลค่าและราคาต่ำกว่ามูลค่า
การนำหุ้นทุนออกจำหน่ายมีดังนี้คือ
- ชำระค่าหุ้นครั้งเดียว หรือจำหน่ายหุ้นเป็นเงินสด
- ชำระค่าหุ้นเป็นงวด ๆ
ประเภทของหุ้นทุนของบริษัท
บริษัทเอกชน จำกัด(Company Limited, Ltd.) หรือบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 กำหนดให้มีหุ้นทุน 2 ประเภท คือ
1.หุ้นสามัญ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของเต็มที่ในบริษัท เอกชน จำกัด มีสิทธิ์ได้ส่วนแบ่งจากผลกำไรของบริษัทในรูปของ เงินปันผล หลังจากที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์แล้ว และในกรณีที่บริษัทล้มละลาย มีการชำระบัญชี กฎหมายระบุให้สิทธิ์เรียกคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัทได้ แต่ต้องหลังจากชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ต่างๆ และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์เต็มมูลค่าแล้วเท่านั้น และมีสิทธิ์ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ (1 หุ้น:1 เสียง)
2.หุ้นบุริมสิทธิ์ เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งเจ้าของและกึ่งเจ้าหนี้ จึงไม่มีสิทธิ์ออกเสียง ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่มีสิทธิ์เหนือผู้ถือหุ้นสามัญในการรับเงินปันผลที่จ่ายจากผลกำไรของ บริษัท และรับคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัท (เมื่อเลิกกิจการ) ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิ์
มี 3 ชนิด คือ
(1) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดสะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่มีสิทธิ์สะสมเงินปันผลไว้ในปีต่อไป ในกรณีที่ไม่มีกำไรพอที่จะปันผลในปีนั้น
(2) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดไม่สะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ไม่มีสิทธิ์ในการสะสมไปจ่ายในปีต่อไป
(3) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดร่วมรับ หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ได้รับการปันผลแล้ว สามารถรับเงินปันผลพร้อมหุ้นสามัญอีกได้
การจำหน่ายหุ้นของบริษัท มี 2 ชนิดคือ หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ สามารถจำหน่ายได้ 3 ราคา คือ
- ราคาตามมูลค่า (At Par)
- ราคาสูงกว่ามูลค่า (At a Premium หรือ Above Par)
- ราคาต่ำกว่ามูลค่า (At a Discount หรือ Below Par)
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1105 ห้ามออกหุ้นต่ำกว่าราคามูลค่าที่ตั้งไว้ จะออกหุ้นสูงกว่ามูลค่าได้แต่ต้องระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด สามารถจำหน่ายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าได้ในกรณีที่บริษัทดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีการขาดทุนแต่ต้องได้รับความเห็นจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ดังนั้นการจำหน่ายหุ้นของบริษัทจำกัดมี 2 ราคา คือ ราคาตามมูลค่าและราคาสูงกว่ามูลค่า ส่วนบริษัทมหาชนจำกัดจำหน่ายหุ้นได้ 3 ราคา คือ ราคาตามมูลค่า ราคาสูงกว่ามูลค่าและราคาต่ำกว่ามูลค่า
การนำหุ้นทุนออกจำหน่ายมีดังนี้คือ
- ชำระค่าหุ้นครั้งเดียว หรือจำหน่ายหุ้นเป็นเงินสด
- ชำระค่าหุ้นเป็นงวด ๆ
ประเภทของหุ้นทุนของบริษัท
บริษัทเอกชน จำกัด(Company Limited, Ltd.) หรือบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 กำหนดให้มีหุ้นทุน 2 ประเภท คือ
1.หุ้นสามัญ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของเต็มที่ในบริษัท เอกชน จำกัด มีสิทธิ์ได้ส่วนแบ่งจากผลกำไรของบริษัทในรูปของ เงินปันผล หลังจากที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์แล้ว และในกรณีที่บริษัทล้มละลาย มีการชำระบัญชี กฎหมายระบุให้สิทธิ์เรียกคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัทได้ แต่ต้องหลังจากชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ต่างๆ และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์เต็มมูลค่าแล้วเท่านั้น และมีสิทธิ์ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ (1 หุ้น:1 เสียง)
2.หุ้นบุริมสิทธิ์ เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งเจ้าของและกึ่งเจ้าหนี้ จึงไม่มีสิทธิ์ออกเสียง ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่มีสิทธิ์เหนือผู้ถือหุ้นสามัญในการรับเงินปันผลที่จ่ายจากผลกำไรของ บริษัท และรับคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัท (เมื่อเลิกกิจการ) ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิ์
มี 3 ชนิด คือ
(1) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดสะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่มีสิทธิ์สะสมเงินปันผลไว้ในปีต่อไป ในกรณีที่ไม่มีกำไรพอที่จะปันผลในปีนั้น
(2) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดไม่สะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ไม่มีสิทธิ์ในการสะสมไปจ่ายในปีต่อไป
(3) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดร่วมรับ หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ได้รับการปันผลแล้ว สามารถรับเงินปันผลพร้อมหุ้นสามัญอีกได้
ป้ายกำกับ:
วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
(วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2) บทที่ 8 ใบงานที่ 8.1
บทที่ 8 ใบงานที่ 8.1
ส่วนที่ 1 จงอธิบายและตอบคำถามต่อไปนี้ โดยสังเขป
1.ความหมายของบริษัทจำกัด มีความหมายว่าอย่างไร
2.ทุนของบริษัทจำกัดคืออะไร แบ่งออกได้กี่ชนิด
3.การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นทำได้กี่วิธี ในแต่ละวิธีบริษัทจะออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเมื่อใด
4.การจำหน่ายหุ้นจำหน่ายได้กี่ราคา อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปด้วย
5.จงอธิบายความหมายของค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท และการตัดจำหน่ายบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท
6.การริบหุ้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีปฏิบัติได้กี่วิธี วิธีที่กฎหมายไทยกำหนดให้ใช้คือวิธีใด
7.วิธีการเปลี่ยนจากกิจการห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด ทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง และมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร
ส่วนที่ 2 ให้บันทึกบัญชีตามโจทย์ต่อไปนี้
1.บริษัท ฟ้าใส จำกัด จดทะเบียนทุนหุ้นสามัญ 1,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หุ้นบุริมสิทธิ 10% จำนวน 20,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท บริษัทได้นำหุ้นทั้งสองชนิดออกขายได้เงินสดทันที ในราคาต่าง ๆ กันดังนี้
1.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 10 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 100 บาท
2.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 11 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 105 บาท
3.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 9.5 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 98 บาท
ให้ทำ : บันทึกรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป
ส่วนที่ 1 จงอธิบายและตอบคำถามต่อไปนี้ โดยสังเขป
1.ความหมายของบริษัทจำกัด มีความหมายว่าอย่างไร
2.ทุนของบริษัทจำกัดคืออะไร แบ่งออกได้กี่ชนิด
3.การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นทำได้กี่วิธี ในแต่ละวิธีบริษัทจะออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเมื่อใด
4.การจำหน่ายหุ้นจำหน่ายได้กี่ราคา อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปด้วย
5.จงอธิบายความหมายของค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท และการตัดจำหน่ายบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท
6.การริบหุ้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีปฏิบัติได้กี่วิธี วิธีที่กฎหมายไทยกำหนดให้ใช้คือวิธีใด
7.วิธีการเปลี่ยนจากกิจการห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด ทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง และมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร
ส่วนที่ 2 ให้บันทึกบัญชีตามโจทย์ต่อไปนี้
1.บริษัท ฟ้าใส จำกัด จดทะเบียนทุนหุ้นสามัญ 1,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หุ้นบุริมสิทธิ 10% จำนวน 20,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท บริษัทได้นำหุ้นทั้งสองชนิดออกขายได้เงินสดทันที ในราคาต่าง ๆ กันดังนี้
1.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 10 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 100 บาท
2.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 11 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 105 บาท
3.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 9.5 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 98 บาท
ให้ทำ : บันทึกรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป
ป้ายกำกับ:
วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
(วิชาการบัญชีชั้นกลาง2) บทที่ 8 การจัดตั้งบริษัท
บทที่ 8 การจัดตั้งบริษัท / การจดทะเบียนบริษัทและการบันทึกบัญชีจำหน่ายหุ้นทุน
การจัดตั้งบริษัท - การจดทะเบียนบริษัท
สำหรับ"การจัดตั้งบริษัท"จำกัดนั้น ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
มีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เพื่อทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วนำไปจดทะเบียน
หลังจากได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุม ให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการ โดยให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นทำการชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งสัดส่วนเป็นกี่หุ้นก็ได้ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท
การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม /หรือเลิก /และชำระบัญชีบริษัทจำกัด
ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไข-เพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งไว้อยู่
การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
มติพิเศษของบริษัทให้
(1) เพิ่มทุน
(2) ลดทุน
(3) ควบบริษัท
ควบบริษัท
แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริดณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
เพิ่มทุน
ลดทุน
กรรมการ
จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
ตราของบริษัท
รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
วิธีการ จดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
ในกรณี การจดทะเบียนบริษัท หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท ให้ผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการของบริษัท จะต้องขอตรวจและจองชื่อบริษัทเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำ หรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน
ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอ ยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา
ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่
ถ้ามีความประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน และหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้
ความหมายและลักษณะของบริษัทจำกัด
1. บริษัทเอกชนจำกัด
บริษัทเอกชนจำกัด ( Private Company Limited ) หมายถึง บริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ซึ่งบัญญัติว่า “อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น ซึ่งมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ” มาตรา 1097 บัญญัติว่า “บุคคลใด ๆ ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ ด้วยการเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิและกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
2. บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited ) หมายถึงบริษัทมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติว่า “บุคคลธรรมดาตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป จะเริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดได้โดยจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ และปฏิบัติการอย่างอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public Limited Company)
เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภทprivate หรืออาจย่อว่า Pcl หรือ PCL (Public Company Limited)
ที่มา :BuncheeAudit
การจัดตั้งบริษัท - การจดทะเบียนบริษัท
สำหรับ"การจัดตั้งบริษัท"จำกัดนั้น ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
มีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เพื่อทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วนำไปจดทะเบียน
หลังจากได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุม ให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการ โดยให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นทำการชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งสัดส่วนเป็นกี่หุ้นก็ได้ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท
การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม /หรือเลิก /และชำระบัญชีบริษัทจำกัด
ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไข-เพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งไว้อยู่
การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
มติพิเศษของบริษัทให้
(1) เพิ่มทุน
(2) ลดทุน
(3) ควบบริษัท
ควบบริษัท
แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริดณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
เพิ่มทุน
ลดทุน
กรรมการ
จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
ตราของบริษัท
รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
วิธีการ จดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
ในกรณี การจดทะเบียนบริษัท หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท ให้ผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการของบริษัท จะต้องขอตรวจและจองชื่อบริษัทเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำ หรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน
ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอ ยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา
ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่
ถ้ามีความประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน และหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้
ความหมายและลักษณะของบริษัทจำกัด
1. บริษัทเอกชนจำกัด
บริษัทเอกชนจำกัด ( Private Company Limited ) หมายถึง บริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ซึ่งบัญญัติว่า “อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น ซึ่งมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ” มาตรา 1097 บัญญัติว่า “บุคคลใด ๆ ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ ด้วยการเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิและกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
2. บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited ) หมายถึงบริษัทมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติว่า “บุคคลธรรมดาตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป จะเริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดได้โดยจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ และปฏิบัติการอย่างอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public Limited Company)
เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภทprivate หรืออาจย่อว่า Pcl หรือ PCL (Public Company Limited)
ที่มา :BuncheeAudit
ป้ายกำกับ:
วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)