วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559
(วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2) VDO บริษัท จำกัด (การบันทึกการจำหน่ายหุ้นทุนงวดเดียว)
ป้ายกำกับ:
วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
(วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2) บทที่ 8 การจำหน่ายหุ้นทุน
การจำหน่ายหุ้นทุน
การจำหน่ายหุ้นของบริษัท มี 2 ชนิดคือ หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ สามารถจำหน่ายได้ 3 ราคา คือ
- ราคาตามมูลค่า (At Par)
- ราคาสูงกว่ามูลค่า (At a Premium หรือ Above Par)
- ราคาต่ำกว่ามูลค่า (At a Discount หรือ Below Par)
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1105 ห้ามออกหุ้นต่ำกว่าราคามูลค่าที่ตั้งไว้ จะออกหุ้นสูงกว่ามูลค่าได้แต่ต้องระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด สามารถจำหน่ายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าได้ในกรณีที่บริษัทดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีการขาดทุนแต่ต้องได้รับความเห็นจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ดังนั้นการจำหน่ายหุ้นของบริษัทจำกัดมี 2 ราคา คือ ราคาตามมูลค่าและราคาสูงกว่ามูลค่า ส่วนบริษัทมหาชนจำกัดจำหน่ายหุ้นได้ 3 ราคา คือ ราคาตามมูลค่า ราคาสูงกว่ามูลค่าและราคาต่ำกว่ามูลค่า
การนำหุ้นทุนออกจำหน่ายมีดังนี้คือ
- ชำระค่าหุ้นครั้งเดียว หรือจำหน่ายหุ้นเป็นเงินสด
- ชำระค่าหุ้นเป็นงวด ๆ
ประเภทของหุ้นทุนของบริษัท
บริษัทเอกชน จำกัด(Company Limited, Ltd.) หรือบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 กำหนดให้มีหุ้นทุน 2 ประเภท คือ
1.หุ้นสามัญ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของเต็มที่ในบริษัท เอกชน จำกัด มีสิทธิ์ได้ส่วนแบ่งจากผลกำไรของบริษัทในรูปของ เงินปันผล หลังจากที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์แล้ว และในกรณีที่บริษัทล้มละลาย มีการชำระบัญชี กฎหมายระบุให้สิทธิ์เรียกคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัทได้ แต่ต้องหลังจากชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ต่างๆ และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์เต็มมูลค่าแล้วเท่านั้น และมีสิทธิ์ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ (1 หุ้น:1 เสียง)
2.หุ้นบุริมสิทธิ์ เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งเจ้าของและกึ่งเจ้าหนี้ จึงไม่มีสิทธิ์ออกเสียง ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่มีสิทธิ์เหนือผู้ถือหุ้นสามัญในการรับเงินปันผลที่จ่ายจากผลกำไรของ บริษัท และรับคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัท (เมื่อเลิกกิจการ) ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิ์
มี 3 ชนิด คือ
(1) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดสะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่มีสิทธิ์สะสมเงินปันผลไว้ในปีต่อไป ในกรณีที่ไม่มีกำไรพอที่จะปันผลในปีนั้น
(2) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดไม่สะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ไม่มีสิทธิ์ในการสะสมไปจ่ายในปีต่อไป
(3) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดร่วมรับ หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ได้รับการปันผลแล้ว สามารถรับเงินปันผลพร้อมหุ้นสามัญอีกได้
การจำหน่ายหุ้นของบริษัท มี 2 ชนิดคือ หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ สามารถจำหน่ายได้ 3 ราคา คือ
- ราคาตามมูลค่า (At Par)
- ราคาสูงกว่ามูลค่า (At a Premium หรือ Above Par)
- ราคาต่ำกว่ามูลค่า (At a Discount หรือ Below Par)
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1105 ห้ามออกหุ้นต่ำกว่าราคามูลค่าที่ตั้งไว้ จะออกหุ้นสูงกว่ามูลค่าได้แต่ต้องระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด สามารถจำหน่ายหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าได้ในกรณีที่บริษัทดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีการขาดทุนแต่ต้องได้รับความเห็นจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ดังนั้นการจำหน่ายหุ้นของบริษัทจำกัดมี 2 ราคา คือ ราคาตามมูลค่าและราคาสูงกว่ามูลค่า ส่วนบริษัทมหาชนจำกัดจำหน่ายหุ้นได้ 3 ราคา คือ ราคาตามมูลค่า ราคาสูงกว่ามูลค่าและราคาต่ำกว่ามูลค่า
การนำหุ้นทุนออกจำหน่ายมีดังนี้คือ
- ชำระค่าหุ้นครั้งเดียว หรือจำหน่ายหุ้นเป็นเงินสด
- ชำระค่าหุ้นเป็นงวด ๆ
ประเภทของหุ้นทุนของบริษัท
บริษัทเอกชน จำกัด(Company Limited, Ltd.) หรือบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 กำหนดให้มีหุ้นทุน 2 ประเภท คือ
1.หุ้นสามัญ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของเต็มที่ในบริษัท เอกชน จำกัด มีสิทธิ์ได้ส่วนแบ่งจากผลกำไรของบริษัทในรูปของ เงินปันผล หลังจากที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์แล้ว และในกรณีที่บริษัทล้มละลาย มีการชำระบัญชี กฎหมายระบุให้สิทธิ์เรียกคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัทได้ แต่ต้องหลังจากชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ต่างๆ และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์เต็มมูลค่าแล้วเท่านั้น และมีสิทธิ์ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ (1 หุ้น:1 เสียง)
2.หุ้นบุริมสิทธิ์ เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งเจ้าของและกึ่งเจ้าหนี้ จึงไม่มีสิทธิ์ออกเสียง ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่มีสิทธิ์เหนือผู้ถือหุ้นสามัญในการรับเงินปันผลที่จ่ายจากผลกำไรของ บริษัท และรับคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัท (เมื่อเลิกกิจการ) ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิ์
มี 3 ชนิด คือ
(1) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดสะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่มีสิทธิ์สะสมเงินปันผลไว้ในปีต่อไป ในกรณีที่ไม่มีกำไรพอที่จะปันผลในปีนั้น
(2) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดไม่สะสม หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ไม่มีสิทธิ์ในการสะสมไปจ่ายในปีต่อไป
(3) หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดร่วมรับ หมายถึง หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ได้รับการปันผลแล้ว สามารถรับเงินปันผลพร้อมหุ้นสามัญอีกได้
ป้ายกำกับ:
วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
(วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2) บทที่ 8 ใบงานที่ 8.1
บทที่ 8 ใบงานที่ 8.1
ส่วนที่ 1 จงอธิบายและตอบคำถามต่อไปนี้ โดยสังเขป
1.ความหมายของบริษัทจำกัด มีความหมายว่าอย่างไร
2.ทุนของบริษัทจำกัดคืออะไร แบ่งออกได้กี่ชนิด
3.การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นทำได้กี่วิธี ในแต่ละวิธีบริษัทจะออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเมื่อใด
4.การจำหน่ายหุ้นจำหน่ายได้กี่ราคา อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปด้วย
5.จงอธิบายความหมายของค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท และการตัดจำหน่ายบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท
6.การริบหุ้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีปฏิบัติได้กี่วิธี วิธีที่กฎหมายไทยกำหนดให้ใช้คือวิธีใด
7.วิธีการเปลี่ยนจากกิจการห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด ทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง และมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร
ส่วนที่ 2 ให้บันทึกบัญชีตามโจทย์ต่อไปนี้
1.บริษัท ฟ้าใส จำกัด จดทะเบียนทุนหุ้นสามัญ 1,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หุ้นบุริมสิทธิ 10% จำนวน 20,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท บริษัทได้นำหุ้นทั้งสองชนิดออกขายได้เงินสดทันที ในราคาต่าง ๆ กันดังนี้
1.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 10 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 100 บาท
2.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 11 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 105 บาท
3.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 9.5 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 98 บาท
ให้ทำ : บันทึกรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป
ส่วนที่ 1 จงอธิบายและตอบคำถามต่อไปนี้ โดยสังเขป
1.ความหมายของบริษัทจำกัด มีความหมายว่าอย่างไร
2.ทุนของบริษัทจำกัดคืออะไร แบ่งออกได้กี่ชนิด
3.การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นทำได้กี่วิธี ในแต่ละวิธีบริษัทจะออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเมื่อใด
4.การจำหน่ายหุ้นจำหน่ายได้กี่ราคา อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปด้วย
5.จงอธิบายความหมายของค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท และการตัดจำหน่ายบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท
6.การริบหุ้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีปฏิบัติได้กี่วิธี วิธีที่กฎหมายไทยกำหนดให้ใช้คือวิธีใด
7.วิธีการเปลี่ยนจากกิจการห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด ทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง และมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร
ส่วนที่ 2 ให้บันทึกบัญชีตามโจทย์ต่อไปนี้
1.บริษัท ฟ้าใส จำกัด จดทะเบียนทุนหุ้นสามัญ 1,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท หุ้นบุริมสิทธิ 10% จำนวน 20,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท บริษัทได้นำหุ้นทั้งสองชนิดออกขายได้เงินสดทันที ในราคาต่าง ๆ กันดังนี้
1.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 10 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 100 บาท
2.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 11 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 105 บาท
3.หุ้นสามัญขายในราคาหุ้นละ 9.5 บาท
หุ้นบุริมสิทธิขายในราคาหุ้นละ 98 บาท
ให้ทำ : บันทึกรายการข้างต้นในสมุดรายวันทั่วไป
ป้ายกำกับ:
วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
(วิชาการบัญชีชั้นกลาง2) บทที่ 8 การจัดตั้งบริษัท
บทที่ 8 การจัดตั้งบริษัท / การจดทะเบียนบริษัทและการบันทึกบัญชีจำหน่ายหุ้นทุน
การจัดตั้งบริษัท - การจดทะเบียนบริษัท
สำหรับ"การจัดตั้งบริษัท"จำกัดนั้น ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
มีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เพื่อทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วนำไปจดทะเบียน
หลังจากได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุม ให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการ โดยให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นทำการชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งสัดส่วนเป็นกี่หุ้นก็ได้ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท
การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม /หรือเลิก /และชำระบัญชีบริษัทจำกัด
ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไข-เพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งไว้อยู่
การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
มติพิเศษของบริษัทให้
(1) เพิ่มทุน
(2) ลดทุน
(3) ควบบริษัท
ควบบริษัท
แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริดณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
เพิ่มทุน
ลดทุน
กรรมการ
จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
ตราของบริษัท
รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
วิธีการ จดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
ในกรณี การจดทะเบียนบริษัท หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท ให้ผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการของบริษัท จะต้องขอตรวจและจองชื่อบริษัทเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำ หรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน
ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอ ยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา
ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่
ถ้ามีความประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน และหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้
ความหมายและลักษณะของบริษัทจำกัด
1. บริษัทเอกชนจำกัด
บริษัทเอกชนจำกัด ( Private Company Limited ) หมายถึง บริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ซึ่งบัญญัติว่า “อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น ซึ่งมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ” มาตรา 1097 บัญญัติว่า “บุคคลใด ๆ ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ ด้วยการเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิและกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
2. บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited ) หมายถึงบริษัทมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติว่า “บุคคลธรรมดาตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป จะเริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดได้โดยจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ และปฏิบัติการอย่างอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public Limited Company)
เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภทprivate หรืออาจย่อว่า Pcl หรือ PCL (Public Company Limited)
ที่มา :BuncheeAudit
การจัดตั้งบริษัท - การจดทะเบียนบริษัท
สำหรับ"การจัดตั้งบริษัท"จำกัดนั้น ต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
มีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เพื่อทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วนำไปจดทะเบียน
หลังจากได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุม ให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการ โดยให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นทำการชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งสัดส่วนเป็นกี่หุ้นก็ได้ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท
การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม /หรือเลิก /และชำระบัญชีบริษัทจำกัด
ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไข-เพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งไว้อยู่
การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้
รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
มติพิเศษของบริษัทให้
(1) เพิ่มทุน
(2) ลดทุน
(3) ควบบริษัท
ควบบริษัท
แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริดณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
เพิ่มทุน
ลดทุน
กรรมการ
จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
ตราของบริษัท
รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
วิธีการ จดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
ในกรณี การจดทะเบียนบริษัท หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท ให้ผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการของบริษัท จะต้องขอตรวจและจองชื่อบริษัทเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำ หรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน
ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอ ยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา
ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่
ถ้ามีความประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน และหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้
ความหมายและลักษณะของบริษัทจำกัด
1. บริษัทเอกชนจำกัด
บริษัทเอกชนจำกัด ( Private Company Limited ) หมายถึง บริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ซึ่งบัญญัติว่า “อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น ซึ่งมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ” มาตรา 1097 บัญญัติว่า “บุคคลใด ๆ ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ ด้วยการเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิและกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
2. บริษัทมหาชนจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited ) หมายถึงบริษัทมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติว่า “บุคคลธรรมดาตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป จะเริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดได้โดยจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ และปฏิบัติการอย่างอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public Limited Company)
เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภทprivate หรืออาจย่อว่า Pcl หรือ PCL (Public Company Limited)
ที่มา :BuncheeAudit
ป้ายกำกับ:
วิชาการบัญชีชั้นกลาง 2
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ใบงาน การจัดทำงบการเงิน (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)
ใบงาน
เรื่อง การจัดทำงบการเงิน วิชา กระบวนการจัดทำบัญชี
คำสั่ง ให้นักเรียนจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล ของกิจการห้างหุ้นส่วน ตามโจทย์ที่กำหนดให้
หจก.อุ่นใจ
งบทดลอง
วันที่ 31 ธันวาคม 2556
เรื่อง การจัดทำงบการเงิน วิชา กระบวนการจัดทำบัญชี
คำสั่ง ให้นักเรียนจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล ของกิจการห้างหุ้นส่วน ตามโจทย์ที่กำหนดให้
หจก.อุ่นใจ
งบทดลอง
วันที่ 31 ธันวาคม 2556
ป้ายกำกับ:
วิชากระบวนการจัดทำบัญชี
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ส่วนที่ 4 งบการเงิน (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)
งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ วันสิ้นงวดบัญชี อาจจะเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย
1. งบดุล (Balance Sheet)
2.งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owner’s equity)
4.งบกระแสเงินสด ( Cash Flow statement)
5.หมายเหตุประกอบเงินการเงิน (Note to Financial Statement)
1) งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผลกำไร หรือ ขาดทุนสุทธิเท่าใดประกอบด้วยรายละเอียดของรายได้และค่าใช้จ่าย
2) งบดุล (Balance Sheet) หมายถึง งบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ(ทุน)
รูปแบบของงบกำไรขาดทุนและงบดุล
1) รูปแบบของงบกำไรขาดทุน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
(1) แบบรายงาน (Report Form) รายการแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่หนึ่ง
เป็นส่วนของรายได้ ตอนที่สองเป็นส่วนของค่าใช้จ่าย และตอนที่สามคือกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
(2) แบบบัญชี (Account Form) เป็นแบบที่แสดงรายการแบบตัว T ในภาษาอังกฤษ โดยแบ่งออกเป็นสองด้าน คือ ด้านซ้ายมือ (เดบิต) บันทึกรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ด้านขวามือ (เครดิต) บันทึกรายการเกี่ยวกับรายได้
2) รูปแบบของงบดุล คือ แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
(1) แบบรายงาน (Report Form) จะแสดงรายการเรียงกันตามลำดับของหมวดบัญชี คือ หมวดสินทรัพย์ หมวดหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ผลรวมของหมวดสินทรัพย์จะต้องเท่ากับผลรวมของหมวดหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
(2) แบบบัญชี (Account form) จะแสดงรายการบัญชีหมวดสินทรัพย์ทางด้านซ้ายมือ (เดบิต) หนี้สินและส่วนของเจ้าของ จะแสดงรายการด้านขวามือ (เครดิต) และผลรวมด้าน เดบิต จะต้องเท่ากับด้านเครดิต
การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงานและแบบบัญชี
1. การทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน
1. ส่วนหัวงบ มี 3 บรรทัด คือ
บรรทัดที่ 1 เขียน “ชื่อกิจการ”
บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน”
บรรทัดที่ 3 เขียนระยะเวลาที่จัดทำงบกำไรขาดทุน
2. เขียนคำว่า “รายได้” ทางด้านซ้ายมือแล้วนำบัญชีรายได้หลักและรายได้อื่น ๆ ของกิจการมาลงรายการโดยเขียน เยื้องไปทางขวามือเล็กน้อย และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดรายได้ทั้งหมด
3. เขียนคำว่า “ค่าใช้จ่าย” ทางซ้ายมือให้ตรงกับรายได้ และนำบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเขียนเยื้องไปทาง ขวามือเล็กน้อย พร้อมเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
4. หาผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้ และยอดรวมค่าใช้จ่าย ถ้ายอดรวมรายได้มากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลต่างคือ กำไรสุทธิ ถ้ายอดรวมค่าใช้จ่ายมากกว่ายอดรวมรายได้ผลต่างคือขาดทุนสุทธิ
2. การทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชี
1. เขียนส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
2. ลงรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางด้านซ้ายมือเรียงลงมาตามลำดับ และลงรายการเกี่ยวกับรายได้ทางด้านขวามือ เรียงลงมาตามลำดับ
3. รวมยอดรายได้ เขียนกำไรสุทธิทางด้านเดบิต ส่วนขาดทุนสุทธิเขียนทางด้านเครดิต
งบดุล
การทำงบดุลแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การจัดทำงบดุลแบบรายงาน
1. ส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
บรรทัดแรก เขียน “ ชื่อกิจการ ”
บรรทัดที่สอง เขียนกำไรขาดทุนในและบรรทัดที่สามเขียนระยะเวลาบัญชี
2. เขียนคำว่า “ สินทรัพย์ ” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดทรัพย์สินมาลงรายการทางด้านซ้ายมือ และ เขียนจำนวนเงินทางขวามือ
3. เขียนคำว่า “ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ” กลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดหนี้สินมาลงรายการทางซ้ายมือ และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดหนี้สิน สุดท้ายรวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์ ทั้งหมด
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย
1. งบดุล (Balance Sheet)
2.งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owner’s equity)
4.งบกระแสเงินสด ( Cash Flow statement)
5.หมายเหตุประกอบเงินการเงิน (Note to Financial Statement)
1) งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผลกำไร หรือ ขาดทุนสุทธิเท่าใดประกอบด้วยรายละเอียดของรายได้และค่าใช้จ่าย
2) งบดุล (Balance Sheet) หมายถึง งบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ(ทุน)
รูปแบบของงบกำไรขาดทุนและงบดุล
1) รูปแบบของงบกำไรขาดทุน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
(1) แบบรายงาน (Report Form) รายการแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่หนึ่ง
เป็นส่วนของรายได้ ตอนที่สองเป็นส่วนของค่าใช้จ่าย และตอนที่สามคือกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
(2) แบบบัญชี (Account Form) เป็นแบบที่แสดงรายการแบบตัว T ในภาษาอังกฤษ โดยแบ่งออกเป็นสองด้าน คือ ด้านซ้ายมือ (เดบิต) บันทึกรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ด้านขวามือ (เครดิต) บันทึกรายการเกี่ยวกับรายได้
2) รูปแบบของงบดุล คือ แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
(1) แบบรายงาน (Report Form) จะแสดงรายการเรียงกันตามลำดับของหมวดบัญชี คือ หมวดสินทรัพย์ หมวดหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ผลรวมของหมวดสินทรัพย์จะต้องเท่ากับผลรวมของหมวดหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
(2) แบบบัญชี (Account form) จะแสดงรายการบัญชีหมวดสินทรัพย์ทางด้านซ้ายมือ (เดบิต) หนี้สินและส่วนของเจ้าของ จะแสดงรายการด้านขวามือ (เครดิต) และผลรวมด้าน เดบิต จะต้องเท่ากับด้านเครดิต
การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงานและแบบบัญชี
1. การทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน
1. ส่วนหัวงบ มี 3 บรรทัด คือ
บรรทัดที่ 1 เขียน “ชื่อกิจการ”
บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน”
บรรทัดที่ 3 เขียนระยะเวลาที่จัดทำงบกำไรขาดทุน
2. เขียนคำว่า “รายได้” ทางด้านซ้ายมือแล้วนำบัญชีรายได้หลักและรายได้อื่น ๆ ของกิจการมาลงรายการโดยเขียน เยื้องไปทางขวามือเล็กน้อย และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดรายได้ทั้งหมด
3. เขียนคำว่า “ค่าใช้จ่าย” ทางซ้ายมือให้ตรงกับรายได้ และนำบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเขียนเยื้องไปทาง ขวามือเล็กน้อย พร้อมเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
4. หาผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้ และยอดรวมค่าใช้จ่าย ถ้ายอดรวมรายได้มากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลต่างคือ กำไรสุทธิ ถ้ายอดรวมค่าใช้จ่ายมากกว่ายอดรวมรายได้ผลต่างคือขาดทุนสุทธิ
2. การทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชี
1. เขียนส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
2. ลงรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางด้านซ้ายมือเรียงลงมาตามลำดับ และลงรายการเกี่ยวกับรายได้ทางด้านขวามือ เรียงลงมาตามลำดับ
3. รวมยอดรายได้ เขียนกำไรสุทธิทางด้านเดบิต ส่วนขาดทุนสุทธิเขียนทางด้านเครดิต
งบดุล
การทำงบดุลแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การจัดทำงบดุลแบบรายงาน
1. ส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
บรรทัดแรก เขียน “ ชื่อกิจการ ”
บรรทัดที่สอง เขียนกำไรขาดทุนในและบรรทัดที่สามเขียนระยะเวลาบัญชี
2. เขียนคำว่า “ สินทรัพย์ ” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดทรัพย์สินมาลงรายการทางด้านซ้ายมือ และ เขียนจำนวนเงินทางขวามือ
3. เขียนคำว่า “ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ” กลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดหนี้สินมาลงรายการทางซ้ายมือ และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดหนี้สิน สุดท้ายรวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์ ทั้งหมด
ป้ายกำกับ:
วิชากระบวนการจัดทำบัญชี
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
VDO รู้จักงบการเงิน กับ ก.ล.ต. (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)
ที่มา:www.youtube.com.ตลาดทุนก.ล.ต.
ป้ายกำกับ:
วิชากระบวนการจัดทำบัญชี
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
VDO :Mind Map เทคนิคการจำงบการเงิน (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)
ที่มา : www.youtube.com, www.dekbunchee.com
ป้ายกำกับ:
วิชากระบวนการจัดทำบัญชี
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559
รายงาน วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน
รายงาน
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3207 – 2009 (20 คะแนน)
คำสั่ง ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้ระดมความคิดภายในกลุ่มในการจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยให้ยกกรณีตัวอย่างของสมาชิกในกลุ่มมา 1 บริษัท โดยมีเนื้อหาในรายงาน ดังนี้
1. ปกรายงาน “รายงาน เรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัท........”
- เสนอ อ.นัฎฐภัทร์ ศรัทธาเจนสุข
2. คำนำ , สารบัญ
3. ชื่อบริษัท ,ประวัติ ความเป็นมา ที่ตั้ง , ลักษณะของธุรกิจ ,โครงสร้างองค์กร +รูปภาพ เพิ่มเติม
4. แนวคิด หลักการในการประเมินผลงาน
5. จุดมุ่งหมายในการประเมินผลงานของบริษัท
5. วิธีการประเมินผลงาน ,เครื่องมือที่ใช้ ยกตัวอย่างประกอบ +รูปภาพ
6. ผลดี และผลด้อย ที่ได้จากการประเมินผลงานของบริษัท
สามารถส่งรายงานได้ก่อน วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2559
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3207 – 2009 (20 คะแนน)
คำสั่ง ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้ระดมความคิดภายในกลุ่มในการจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยให้ยกกรณีตัวอย่างของสมาชิกในกลุ่มมา 1 บริษัท โดยมีเนื้อหาในรายงาน ดังนี้
1. ปกรายงาน “รายงาน เรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัท........”
- เสนอ อ.นัฎฐภัทร์ ศรัทธาเจนสุข
2. คำนำ , สารบัญ
3. ชื่อบริษัท ,ประวัติ ความเป็นมา ที่ตั้ง , ลักษณะของธุรกิจ ,โครงสร้างองค์กร +รูปภาพ เพิ่มเติม
4. แนวคิด หลักการในการประเมินผลงาน
5. จุดมุ่งหมายในการประเมินผลงานของบริษัท
5. วิธีการประเมินผลงาน ,เครื่องมือที่ใช้ ยกตัวอย่างประกอบ +รูปภาพ
6. ผลดี และผลด้อย ที่ได้จากการประเมินผลงานของบริษัท
สามารถส่งรายงานได้ก่อน วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2559
ป้ายกำกับ:
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
VDO การประเมินผลงานแบบง่ายๆ (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
ที่มา : www.youtube.com
ป้ายกำกับ:
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
1. การกำหนดมาตราส่วน Graphic Rating Scale กำหนดคุณสมบัติที่สำคัญต่อการปฏิบัติงานเป็นหัวข้อ จัดเรียงเป็น มาตราส่วนจากน้อย---มาก
2. การจัดลำดับ
3. การกระจายตามหลักสถิติ
4.การตัวสอบรายการ
- การตรวจสอบรายการแบบถ่วงน้ำหนัก
- การตรวจสอบรายการแบบกำหนดทางเลือก
5. การบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น ลักษณะการตัดสินใจ ประสิทธิภาพในการทำงาน ความรับผิดชอบ
6. การพิจารณาการปฏิบัติงาน โดยที่ HR จะสอบถามจากหัวหน้างานและบันทึกรายงานต่อผู้บริหาร ระดับสูง
7. การเขียนบันทึกการปฏิบัติงาน หัวหน้าจะจดบันทึกผลการปฎิบัติงาน โดยจะใส่ความคิดเห็นของตนลงไป
ในบันทึกเพื่อสร้างความเข้าใจในอนาคต
8.การประเมินโดยกลุ่ม
ผู้ถูกประเมินจะถูกประเมินจากคณะบุคคล ที่มีความเหมาะสม 3-4 คน
9.การประเมินทางผลงาน
ประเมินจากผลงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
ข้อผิดพลาดที่ควรคำนึงในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. การประเมินโดยมีผลกลางๆ
2. การประเมินโดยใช้เหตุการณ์ใกล้ตัว
3. การกำหนดมาตรฐานที่ต่ำหรือสูงเกินไป
4. การใช้ความประทับใจงานบ้างเรื่องเป็นหลัก
5. การใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล
6. การเอาตัวเองเข้าเปรียบเทียบ
7. การให้ความสำคัญกับระยะเวลาในการทำงาน
8. การมีอคติกับลักษณะบางอย่างของกลุ่มบุคคล
การนำผลลัพธ์จากการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้
1. นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์
- การกำหนดค่าตอบแทน
- การเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง
- การปรับปรุงการปฏิบัติงาน
- การจ้างงาน
การนำผลลัพธ์จากการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้
2. การแจ้งผลประเมิน
การแจ้งผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการให้ ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แกเพนักงาน เพื่อให้รับทราบว่าตนเองปฏิบัติงาน
อยู่ในระดับใดสมควรจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานหรือไม่ เพียงได
เอกสารที่ใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
แผนภูมิองค์การ
• เอกสารพรรณนางาน
• บันทึกการปฏิบัติงาน
• ทะเบียนประวัติพนักงาน
• แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน
- ประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
1. การกำหนดมาตราส่วน Graphic Rating Scale กำหนดคุณสมบัติที่สำคัญต่อการปฏิบัติงานเป็นหัวข้อ จัดเรียงเป็น มาตราส่วนจากน้อย---มาก
2. การจัดลำดับ
3. การกระจายตามหลักสถิติ
4.การตัวสอบรายการ
- การตรวจสอบรายการแบบถ่วงน้ำหนัก
- การตรวจสอบรายการแบบกำหนดทางเลือก
5. การบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น ลักษณะการตัดสินใจ ประสิทธิภาพในการทำงาน ความรับผิดชอบ
6. การพิจารณาการปฏิบัติงาน โดยที่ HR จะสอบถามจากหัวหน้างานและบันทึกรายงานต่อผู้บริหาร ระดับสูง
7. การเขียนบันทึกการปฏิบัติงาน หัวหน้าจะจดบันทึกผลการปฎิบัติงาน โดยจะใส่ความคิดเห็นของตนลงไป
ในบันทึกเพื่อสร้างความเข้าใจในอนาคต
8.การประเมินโดยกลุ่ม
ผู้ถูกประเมินจะถูกประเมินจากคณะบุคคล ที่มีความเหมาะสม 3-4 คน
9.การประเมินทางผลงาน
ประเมินจากผลงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
ข้อผิดพลาดที่ควรคำนึงในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. การประเมินโดยมีผลกลางๆ
2. การประเมินโดยใช้เหตุการณ์ใกล้ตัว
3. การกำหนดมาตรฐานที่ต่ำหรือสูงเกินไป
4. การใช้ความประทับใจงานบ้างเรื่องเป็นหลัก
5. การใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล
6. การเอาตัวเองเข้าเปรียบเทียบ
7. การให้ความสำคัญกับระยะเวลาในการทำงาน
8. การมีอคติกับลักษณะบางอย่างของกลุ่มบุคคล
การนำผลลัพธ์จากการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้
1. นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์
- การกำหนดค่าตอบแทน
- การเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง
- การปรับปรุงการปฏิบัติงาน
- การจ้างงาน
การนำผลลัพธ์จากการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้
2. การแจ้งผลประเมิน
การแจ้งผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการให้ ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แกเพนักงาน เพื่อให้รับทราบว่าตนเองปฏิบัติงาน
อยู่ในระดับใดสมควรจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานหรือไม่ เพียงได
เอกสารที่ใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
แผนภูมิองค์การ
• เอกสารพรรณนางาน
• บันทึกการปฏิบัติงาน
• ทะเบียนประวัติพนักงาน
• แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน
- ประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ป้ายกำกับ:
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
ปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
ปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
1. ปัญหาที่เกิดจากผู้ประเมิน
1.1 Halo Effect: ผู้ประเมินให้ความสำคัญกับเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งมากเกินไป
1.2 Pitchfork Effect: ผู้ประเมินตั้งเกณฑ์ในการประเมินสูงเกินไป และประเมินผลต่ำกว่าความเป็นจริง (พวกชอบกดคะแนน)
1.3 Recency Effect: ผู้ประเมินให้ความสำคัญกับพฤติกรรมใกล้กับเวลาประเมินมากเกินไป
1.4 Spillover: ผู้ประเมินนำผลงานที่ผ่านมาแล้วในอดีต (ทั้งในด้านบวกและลบ) มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน/ประเมินผลงานในปัจจุบัน
1.5 Leniency & strictness: ผู้ประเมินบางคนเข้มงวดเกินไป บางคนก็หย่อน/ปล่อยคะแนนเกินไป
1.6 Stereotyping: ผู้ประเมินใช้ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลงานมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน เช่น เพศ พวกพ้อง สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2. ปัญหาที่เกิดจากระบบ/เครื่องมือ/วิธีการประเมิน
2.1 เลือกเทคนิค/วิธีการไม่เหมาะสม: ผู้ประเมินเลือกเทคนิคการประเมินไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
2.2 มาตรฐานไม่ชัดเจนหรือไม่มีมาตรฐาน: แบบฟอร์มในการประเมินไม่ มีมาตรฐานที่ชัดเจน ทำให้ผู้ประเมินแต่ละคนอาจเข้าใจไม่ตรงกัน ว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการวัด หรือจะให้ความสำคัญกับปัจจัยใดมากกว่ากัน เป็นต้น
3. ปัญหาที่เกิดจากผู้ถูกประเมิน
3.1 ไม่ยอมรับผลการประเมิน
3.2 คิดว่าผู้ประเมินไม่เป็นธรรม
1. ปัญหาที่เกิดจากผู้ประเมิน
1.1 Halo Effect: ผู้ประเมินให้ความสำคัญกับเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งมากเกินไป
1.2 Pitchfork Effect: ผู้ประเมินตั้งเกณฑ์ในการประเมินสูงเกินไป และประเมินผลต่ำกว่าความเป็นจริง (พวกชอบกดคะแนน)
1.3 Recency Effect: ผู้ประเมินให้ความสำคัญกับพฤติกรรมใกล้กับเวลาประเมินมากเกินไป
1.4 Spillover: ผู้ประเมินนำผลงานที่ผ่านมาแล้วในอดีต (ทั้งในด้านบวกและลบ) มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน/ประเมินผลงานในปัจจุบัน
1.5 Leniency & strictness: ผู้ประเมินบางคนเข้มงวดเกินไป บางคนก็หย่อน/ปล่อยคะแนนเกินไป
1.6 Stereotyping: ผู้ประเมินใช้ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลงานมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน เช่น เพศ พวกพ้อง สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2. ปัญหาที่เกิดจากระบบ/เครื่องมือ/วิธีการประเมิน
2.1 เลือกเทคนิค/วิธีการไม่เหมาะสม: ผู้ประเมินเลือกเทคนิคการประเมินไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
2.2 มาตรฐานไม่ชัดเจนหรือไม่มีมาตรฐาน: แบบฟอร์มในการประเมินไม่ มีมาตรฐานที่ชัดเจน ทำให้ผู้ประเมินแต่ละคนอาจเข้าใจไม่ตรงกัน ว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการวัด หรือจะให้ความสำคัญกับปัจจัยใดมากกว่ากัน เป็นต้น
3. ปัญหาที่เกิดจากผู้ถูกประเมิน
3.1 ไม่ยอมรับผลการประเมิน
3.2 คิดว่าผู้ประเมินไม่เป็นธรรม
ป้ายกำกับ:
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
เทคนิคการแจ้งผลการประเมิน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
เทคนิคการแจ้งผลการประเมิน Appraisal Feedback Technique(วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
หลักการแจ้งผลการประเมินที่ดี
ข้อควรระวังในการแจ้งผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 ควรให้ความสำคัญกับการแจ้งผลการประเมิน และทำในบรรยากาศที่เหมาะสม เช่น ไม่ควรประเมินผลระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน เป็นต้น
2 ต้องมีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง และมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อให้พนักงานยอมรับผล
3 ควร ชมก่อนติ และแจ้งผลการประเมินทั้งด้านดี และด้านที่ควรปรับปรุง
4 หัวหน้าควรแจ้งผลการประเมินแก่ลูกน้องด้วยตนเอง
5 หัวหน้าต้องมีความพร้อมในการแจ้งผลการประเมิน พร้อมจะชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกด้าน
หลักการแจ้งผลการประเมินที่ดี
ข้อควรระวังในการแจ้งผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1 ควรให้ความสำคัญกับการแจ้งผลการประเมิน และทำในบรรยากาศที่เหมาะสม เช่น ไม่ควรประเมินผลระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน เป็นต้น
2 ต้องมีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง และมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อให้พนักงานยอมรับผล
3 ควร ชมก่อนติ และแจ้งผลการประเมินทั้งด้านดี และด้านที่ควรปรับปรุง
4 หัวหน้าควรแจ้งผลการประเมินแก่ลูกน้องด้วยตนเอง
5 หัวหน้าต้องมีความพร้อมในการแจ้งผลการประเมิน พร้อมจะชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกด้าน
ป้ายกำกับ:
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
ข้อควรระวัง ในการประเมินผลงาน (วิชาการปะเมินผลการปฏิบัติงาน)
ข้อควรระวังในการประเมินผลงาน (วิชาการปะเมินผลการปฏิบัติงาน)
1 Appraisals being conducted too late: ควรมีการ ประเมินผลเป็นระยะ ๆ ไม่ควรรอให้งานเสร็จสมบูรณ์
จึงประเมิน เพราะจะไม่มีโอกาสแก้ไข/ปรับปรุงผลงานที่ผิดพลาดได้
2 When using a rating system, avoid lumping
employees into some middle group: ต้องกล้าประเมินอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ประเมินผลโดยใช้เอกสาร ไม่มีการพูดคุยกัน
1 Appraisals being conducted too late: ควรมีการ ประเมินผลเป็นระยะ ๆ ไม่ควรรอให้งานเสร็จสมบูรณ์
จึงประเมิน เพราะจะไม่มีโอกาสแก้ไข/ปรับปรุงผลงานที่ผิดพลาดได้
2 When using a rating system, avoid lumping
employees into some middle group: ต้องกล้าประเมินอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ประเมินผลโดยใช้เอกสาร ไม่มีการพูดคุยกัน
ป้ายกำกับ:
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
การแจ้งผลประเมินการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
การแจ้งผลประเมินการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
แจ้งผลประเมินให้ลูกน้องทราบ
แจ้งเป้าหมายที่ต้องการให้ทำต่อไป
ชี้แจงข้อสงสัย รับฟังปัญหา/ข้อคิดเห็น
แสดงให้เห็นผลของการประเมินที่เป็นรูปธรรม
รูปแบบการสัมภาษณ์เพื่อแจ้งผลประเมิน
แบบชี้แจง-ชักจูง(Tell and Sell )
1หัวหน้าเป็นผู้แจ้งผลการประเมิน
2หัวหน้าเสนอแนวทางในการปฏิบัติต่อไปแก่พนักงาน เช่น
3บอกให้ลูกน้องทราบถึงผลการประเมิน
4รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของลูกน้อง
5ฟังอย่างตั้งใจ อย่างเข้าใจ
6สรุปความเห็นและความรู้สึกของลูกน้อง
7ไม่โต้แย้ง หรือหักล้างเหตุผลของลูกน้อง
แบบร่วมกันแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
1ให้ลูกน้องสรุปผลงานที่สำเร็จและที่ไม่สำเร็จ ชี้แจงอุปสรรคปัญหาและเรื่องที่ควรปรับปรุง
2สรุปสิ่งที่หัวหน้าเห็นด้วยและความเห็นเพิ่มเติมเรื่องผลงาน
3ช่วยกันสรุปผลการประเมินร่วมกัน
4ให้ลูกน้องเสนอแนวทางปรับปรุงการทำงาน
5สรุปสิ่งที่หัวหน้าเห็นด้วยและความเห็นเพิ่มเติมเรื่องการปรับปรุงผลงาน
6ช่วยกันสรุปแผนการปรับปรุงงานร่วมกัน
7พยายามรับฟัง หาทางออกที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย
แจ้งผลประเมินให้ลูกน้องทราบ
แจ้งเป้าหมายที่ต้องการให้ทำต่อไป
ชี้แจงข้อสงสัย รับฟังปัญหา/ข้อคิดเห็น
แสดงให้เห็นผลของการประเมินที่เป็นรูปธรรม
รูปแบบการสัมภาษณ์เพื่อแจ้งผลประเมิน
แบบชี้แจง-ชักจูง(Tell and Sell )
1หัวหน้าเป็นผู้แจ้งผลการประเมิน
2หัวหน้าเสนอแนวทางในการปฏิบัติต่อไปแก่พนักงาน เช่น
3บอกให้ลูกน้องทราบถึงผลการประเมิน
4รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของลูกน้อง
5ฟังอย่างตั้งใจ อย่างเข้าใจ
6สรุปความเห็นและความรู้สึกของลูกน้อง
7ไม่โต้แย้ง หรือหักล้างเหตุผลของลูกน้อง
แบบร่วมกันแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
1ให้ลูกน้องสรุปผลงานที่สำเร็จและที่ไม่สำเร็จ ชี้แจงอุปสรรคปัญหาและเรื่องที่ควรปรับปรุง
2สรุปสิ่งที่หัวหน้าเห็นด้วยและความเห็นเพิ่มเติมเรื่องผลงาน
3ช่วยกันสรุปผลการประเมินร่วมกัน
4ให้ลูกน้องเสนอแนวทางปรับปรุงการทำงาน
5สรุปสิ่งที่หัวหน้าเห็นด้วยและความเห็นเพิ่มเติมเรื่องการปรับปรุงผลงาน
6ช่วยกันสรุปแผนการปรับปรุงงานร่วมกัน
7พยายามรับฟัง หาทางออกที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย
ป้ายกำกับ:
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559
VDO งบการเงิน Mind Map (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)
ที่มา : www.youtube.com ,www.dekbunchee.com
ป้ายกำกับ:
วิชากระบวนการจัดทำบัญชี
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
VDO การบันทึกบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)
ที่มา : www.youtube.com
ป้ายกำกับ:
วิชากระบวนการจัดทำบัญชี
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
การบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)
ป้ายกำกับ:
วิชากระบวนการจัดทำบัญชี
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
เรื่องที่ 3 การบันทึกบัญชีธุรกิจซื้อขายสินค้า (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)
เรื่องที่ 3 การบันทึกบัญชีธุรกิจซื้อขายสินค้า (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)
ธุรกิจซื้อขายสินค้าเป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาจำหน่าย ขนาดของธุรกิจอาจแบ่งได้เป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในธุรกิจขนาดเล็กเจ้าของอาจเป็นผู้ดำเนินการจัดการภายในธุรกิจของตนเอง แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ เจ้าของไม่สามารถจัดการได้เพียงคนเดียว ต้องแบ่งหน้าที่การจัดการเป็นส่วน ๆ ได้แก่ แผนกคลังสินค้า แผนกจัดซื้อ แผนกตรวจรับสินค้า และแผนกบัญชี
ธุรกิจซื้อขายสินค้าเป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาจำหน่าย ขนาดของธุรกิจอาจแบ่งได้เป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในธุรกิจขนาดเล็กเจ้าของอาจเป็นผู้ดำเนินการจัดการภายในธุรกิจของตนเอง แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ เจ้าของไม่สามารถจัดการได้เพียงคนเดียว ต้องแบ่งหน้าที่การจัดการเป็นส่วน ๆ ได้แก่ แผนกคลังสินค้า แผนกจัดซื้อ แผนกตรวจรับสินค้า และแผนกบัญชี
การขายสินค้าจะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การขายเงินสด
การขายเงินเชื่อ และการขายผ่อนชำระ
เมื่อกิจการขายสินค้าหรือซื้อสินค้าเพื่อจำหน่ายอาจพบว่าสินค้าแตกหักเสียหาย
ดังนั้นผู้ซื้อต้องแจ้งให้ผู้ขายทราบ แบ่งเป็น
1. ด้านผู้ซื้อ
ถ้าผู้ซื้อส่งสินค้าคืนไปยังผู้ขาย เรียกว่า “การส่งคืนสินค้า”
2. ด้านผู้ขาย
ถ้ารับคืนสินค้าจากผู้ซื้อ เรียกว่า “การรับคืนสินค้า”
เพื่อเป็นการจูงใจการซื้อสินค้า และการจ่ายชำระเงิน จึงมีการกำหนดการให้ส่วนลด
โดยที่ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณมาก จะให้ส่วนลดที่เรียกว่า “ส่วนลดการค้า”
แต่ถ้าซื้อแล้วลูกค้าชำระเงินภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะได้ส่วนลดที่เรียกว่า
“ส่วนลดเงินสด”
เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า คือ
ข้อตกลงในการขนส่งสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แบ่งเป็น
1. F.O.B Shipping Point เป็นการส่งมอบสินค้าต้นทาง
ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เรียกว่า “ค่าขนส่งเข้า”
2. F.O.B Destination เป็นการส่งมอบสินค้าปลายทาง
ผู้ขายเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เรียกว่า “ค่าขนส่งออก)
การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ แบ่งเป็น ด้านผู้ซื้อ และด้านผู้ขาย
ด้านผู้ซื้อ
|
ด้านผู้ขาย
|
1. การซื้อสินค้า
2. การจ่ายค่าขนส่งเข้า
3. การส่งคืนสินค้า
4. การชำระหนี้ค่าสินค้าได้รับส่วนลดรับ
|
1. การขายสินค้า
2. การจ่ายค่าขนส่งออก
3. การรับคืนสินค้า
4. การรับชำระหนี้ค่าสินค้าได้ให้ส่วนลดจ่าย
|
วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ มี 2 วิธี คือ
1. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual Inventory Method)
2. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าทั้ง 2 วิธี มีความแตกต่าง
จึงมีผลทำให้การปิดบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ และงบกำไรขาดทุน มีความแตกต่าง
แต่งบดุลจะเหมือนกัน
สรุปวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ
|
|
|
รายการ
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual
Inventory Method)
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic
Inventory Method)
|
รายการด้านการซื้อสินค้า
|
|
|
1) ซื้อสินค้าเป็นเงินสด หรือเงินเชื่อ
|
เดบิต สินค้าคงเหลือ xx
เครดิต เงินสด / เจ้าหนี้การค้า xx
|
เดบิต ซื้อ xx
เครดิต เงินสด / เจ้าหนี้การค้า xx
|
|
|
|
2) จ่ายค่าขนส่งเข้า
2.1
กิจการจ่ายค่าขนส่งเอง
|
เดบิต สินค้าคงเหลือ xx
เครดิต เงินสด xx
|
เดบิต ค่าขนส่งเข้า xx
เครดิต เงินสด xx
|
|
|
|
2.2 ผู้ขายจ่ายค่าขนส่งแทน
กิจการ
|
เดบิต สินค้าคงเหลือ xx
เครดิต เจ้าหนี้การค้า xx
|
เดบิต ค่าขนส่งเข้า xx
เครดิต เจ้าหนี้การค้า xx
|
|
|
|
3) ส่งคืนสินค้า
|
เดบิต เงินสด / เจ้าหนี้การค้า xx
เครดิต สินค้าคงเหลือ xx
|
เดบิต เงินสด / เจ้าหนี้การค้า xx
เครดิต ส่งคืน xx
|
|
|
|
4) จ่ายชำระหนี้จากการซื้อเชื่อและ
ได้รับส่วนลด
|
เดบิต เจ้าหนี้การค้า xx
เครดิต เงินสด xx
สินค้าคงเหลือ xx
|
เดบิต เจ้าหนี้การค้า xx
เครดิต เงินสด xx
ส่วนลดรับ xx
|
|
|
|
|
|
|
รายการ
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual
Inventory Method)
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic
Inventory Method)
|
รายการด้านการขายสินค้า
|
|
|
1) ขายสินค้า
1.1
การขายสินค้าเป็นเงินสด
หรือเป็นเงินเชื่อในราคาขาย
|
เดบิต เงินสด / ลูกหนี้การค้า xx
เครดิต ขาย xx
|
เดบิต เงินสด / ลูกหนี้การค้า xx
เครดิต ขาย xx
|
|
|
|
1.2 บันทึกต้นทุนขายในราคา
ทุนของสินค้า
|
เดบิต ต้นทุนขาย xx
เครดิต สินค้าคงเหลือ xx
|
|
|
|
|
2) จ่ายค่าขนส่งออก
2.1
กิจการจ่ายค่าขนส่งออก
|
เดบิต ค่าขนส่งออก xx
เครดิต เงินสด xx
|
เดบิต ค่าขนส่งออก xx
เครดิต เงินสด xx
|
|
|
|
2.2 ผู้ซื้อจ่ายค่าขนส่งแทน
กิจการ
|
เดบิต ค่าขนส่งออก xx
เครดิต ลูกหนี้การค้า xx
|
เดบิต ค่าขนส่งออก xx
เครดิต ลูกหนี้การค้า xx
|
|
|
|
3) รับคืนสินค้า
3.1
การรับคืนสินค้าใน
ราคาขาย
|
เดบิต รับคืน xx
เครดิต เงินสด / ลูกหนี้การค้า xx
|
เดบิต รับคืน xx
เครดิต เงินสด / ลูกหนี้การค้า xx
|
|
|
|
3.2 บันทึกต้นทุนขายที่ลดลง
ในราคาทุน
|
เดบิต สินค้าคงเหลือ xx
เครดิต ต้นทุนขาย xx
|
|
|
|
|
4)
รับชำระหนี้จากการขายเงินเชื่อ
และให้ส่วนลดจ่าย
|
เดบิต เงินสด xx
ส่วนลดจ่าย xx
เครดิต ลูกหนี้การค้า xx
|
เดบิต เงินสด xx
ส่วนลดจ่าย xx
เครดิต ลูกหนี้การค้า xx
|
|
|
|
สรุปวิธีการปิดบัญชีของกิจการซื้อ
- ขายสินค้า
1. การปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
รายได้ และค่าใช้จ่าย
|
|
|
บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual
Inventory Method)
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic
Inventory Method)
|
|
การปิดบัญชีโดยผ่านต้นทุนขาย
|
การปิดบัญชีโดยไม่ผ่านต้นทุนขาย
|
|
1.
ปิดบัญชีขายและรายได้อื่น
เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
|
1.
ปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้าที่มียอดทาง
ด้านเดบิตเข้าบัญชีต้นทุนขาย
|
1.
ปิดบัญชีขายรายได้อื่น ๆ ส่งคืน และ
ส่วนลดรับเข้าบัญชีกำไรขาดทุนและ
|
เดบิต ขาย xx
รายได้อื่น xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
|
เดบิต ต้นทุนขาย xx
เครดิต สินค้าคงเหลือ
(ต้นงวด) xx
ซื้อ xx
ค่าขนส่งเข้า xx
|
บันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวด
เดบิต ขาย xx
รายได้อื่น xx
ส่งคืน xx
ส่วนลดรับ xx
สินค้าคงเหลือ
(ปลายงวด) xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
|
|
|
|
.
|
|
|
บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual
Inventory Method)
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic
Inventory Method)
|
|
การปิดบัญชีโดยผ่านต้นทุนขาย
|
การปิดบัญชีโดยไม่ผ่านต้นทุนขาย
|
|
2.
ปิดบัญชีรับคืน ส่วนลดจ่าย และค่าใช้
จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน
|
2.
ปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้าที่มียอดทาง
ด้านเครดิตเข้าบัญชีต้นทุนขาย
และ
|
2.
ปิดบัญชีสินค้าคงเหลือต้นงวด รับคืน
และส่วนลดจ่าย และค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ
|
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต รับคืน xx
ส่วนลดจ่าย xx
ต้นทุนขาย xx
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ xx
|
บันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวด
เดบิต ส่งคืน xx
ส่วนลดรับ xx
สินค้าคงเหลือ
(ปลายงวด) xx
เครดิต ต้นทุนขาย xx
|
เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต สินค้าคงเหลือ
(ต้นงวด) xx
รับคืน xx
ส่วนลดจ่าย xx
ซื้อ xx
ค่าขนส่งเข้า xx
ค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ xx
|
|
3.
ปิดบัญชีขายและรายได้อื่น ๆ เข้าบัญชี
กำไรขาดทุน
เดบิต ขาย xx
รายได้อื่น xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
|
|
|
4. ปิดบัญชีรับคืน ส่วนลดจ่าย ต้นทุนขาย
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต รับคืน xx
ส่วนลดจ่าย xx
ต้นทุนขาย–
xx
ค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ xx
|
|
2. การปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีกำไรสะสม
1) ถ้ามีกำไรสุทธิ
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต กำไรสะสม xx
2) ถ้ามีขาดทุนสุทธิ
เดบิต กำไรสะสม xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
3. การปิดบัญชีเงินปันผลจ่ายเข้าบัญชีกำไรสะสม
เดบิต กำไรสะสม xx
เครดิต เงินปันผลจ่าย xx
ป้ายกำกับ:
วิชากระบวนการจัดทำบัญชี
E-Mail : nuttaphut@gmail.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)