ธุรกิจซื้อขายสินค้าเป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาจำหน่าย ขนาดของธุรกิจอาจแบ่งได้เป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในธุรกิจขนาดเล็กเจ้าของอาจเป็นผู้ดำเนินการจัดการภายในธุรกิจของตนเอง แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ เจ้าของไม่สามารถจัดการได้เพียงคนเดียว ต้องแบ่งหน้าที่การจัดการเป็นส่วน ๆ ได้แก่ แผนกคลังสินค้า แผนกจัดซื้อ แผนกตรวจรับสินค้า และแผนกบัญชี
การขายสินค้าจะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การขายเงินสด
การขายเงินเชื่อ และการขายผ่อนชำระ
เมื่อกิจการขายสินค้าหรือซื้อสินค้าเพื่อจำหน่ายอาจพบว่าสินค้าแตกหักเสียหาย
ดังนั้นผู้ซื้อต้องแจ้งให้ผู้ขายทราบ แบ่งเป็น
1. ด้านผู้ซื้อ
ถ้าผู้ซื้อส่งสินค้าคืนไปยังผู้ขาย เรียกว่า “การส่งคืนสินค้า”
2. ด้านผู้ขาย
ถ้ารับคืนสินค้าจากผู้ซื้อ เรียกว่า “การรับคืนสินค้า”
เพื่อเป็นการจูงใจการซื้อสินค้า และการจ่ายชำระเงิน จึงมีการกำหนดการให้ส่วนลด
โดยที่ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณมาก จะให้ส่วนลดที่เรียกว่า “ส่วนลดการค้า”
แต่ถ้าซื้อแล้วลูกค้าชำระเงินภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะได้ส่วนลดที่เรียกว่า
“ส่วนลดเงินสด”
เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า คือ
ข้อตกลงในการขนส่งสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แบ่งเป็น
1. F.O.B Shipping Point เป็นการส่งมอบสินค้าต้นทาง
ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เรียกว่า “ค่าขนส่งเข้า”
2. F.O.B Destination เป็นการส่งมอบสินค้าปลายทาง
ผู้ขายเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เรียกว่า “ค่าขนส่งออก)
การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ แบ่งเป็น ด้านผู้ซื้อ และด้านผู้ขาย
ด้านผู้ซื้อ
|
ด้านผู้ขาย
|
1. การซื้อสินค้า
2. การจ่ายค่าขนส่งเข้า
3. การส่งคืนสินค้า
4. การชำระหนี้ค่าสินค้าได้รับส่วนลดรับ
|
1. การขายสินค้า
2. การจ่ายค่าขนส่งออก
3. การรับคืนสินค้า
4. การรับชำระหนี้ค่าสินค้าได้ให้ส่วนลดจ่าย
|
วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ มี 2 วิธี คือ
1. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual Inventory Method)
2. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าทั้ง 2 วิธี มีความแตกต่าง
จึงมีผลทำให้การปิดบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ และงบกำไรขาดทุน มีความแตกต่าง
แต่งบดุลจะเหมือนกัน
สรุปวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ
|
|
|
รายการ
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual
Inventory Method)
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic
Inventory Method)
|
รายการด้านการซื้อสินค้า
|
|
|
1) ซื้อสินค้าเป็นเงินสด หรือเงินเชื่อ
|
เดบิต สินค้าคงเหลือ xx
เครดิต เงินสด / เจ้าหนี้การค้า xx
|
เดบิต ซื้อ xx
เครดิต เงินสด / เจ้าหนี้การค้า xx
|
|
|
|
2) จ่ายค่าขนส่งเข้า
2.1
กิจการจ่ายค่าขนส่งเอง
|
เดบิต สินค้าคงเหลือ xx
เครดิต เงินสด xx
|
เดบิต ค่าขนส่งเข้า xx
เครดิต เงินสด xx
|
|
|
|
2.2 ผู้ขายจ่ายค่าขนส่งแทน
กิจการ
|
เดบิต สินค้าคงเหลือ xx
เครดิต เจ้าหนี้การค้า xx
|
เดบิต ค่าขนส่งเข้า xx
เครดิต เจ้าหนี้การค้า xx
|
|
|
|
3) ส่งคืนสินค้า
|
เดบิต เงินสด / เจ้าหนี้การค้า xx
เครดิต สินค้าคงเหลือ xx
|
เดบิต เงินสด / เจ้าหนี้การค้า xx
เครดิต ส่งคืน xx
|
|
|
|
4) จ่ายชำระหนี้จากการซื้อเชื่อและ
ได้รับส่วนลด
|
เดบิต เจ้าหนี้การค้า xx
เครดิต เงินสด xx
สินค้าคงเหลือ xx
|
เดบิต เจ้าหนี้การค้า xx
เครดิต เงินสด xx
ส่วนลดรับ xx
|
|
|
|
|
|
|
รายการ
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual
Inventory Method)
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic
Inventory Method)
|
รายการด้านการขายสินค้า
|
|
|
1) ขายสินค้า
1.1
การขายสินค้าเป็นเงินสด
หรือเป็นเงินเชื่อในราคาขาย
|
เดบิต เงินสด / ลูกหนี้การค้า xx
เครดิต ขาย xx
|
เดบิต เงินสด / ลูกหนี้การค้า xx
เครดิต ขาย xx
|
|
|
|
1.2 บันทึกต้นทุนขายในราคา
ทุนของสินค้า
|
เดบิต ต้นทุนขาย xx
เครดิต สินค้าคงเหลือ xx
|
|
|
|
|
2) จ่ายค่าขนส่งออก
2.1
กิจการจ่ายค่าขนส่งออก
|
เดบิต ค่าขนส่งออก xx
เครดิต เงินสด xx
|
เดบิต ค่าขนส่งออก xx
เครดิต เงินสด xx
|
|
|
|
2.2 ผู้ซื้อจ่ายค่าขนส่งแทน
กิจการ
|
เดบิต ค่าขนส่งออก xx
เครดิต ลูกหนี้การค้า xx
|
เดบิต ค่าขนส่งออก xx
เครดิต ลูกหนี้การค้า xx
|
|
|
|
3) รับคืนสินค้า
3.1
การรับคืนสินค้าใน
ราคาขาย
|
เดบิต รับคืน xx
เครดิต เงินสด / ลูกหนี้การค้า xx
|
เดบิต รับคืน xx
เครดิต เงินสด / ลูกหนี้การค้า xx
|
|
|
|
3.2 บันทึกต้นทุนขายที่ลดลง
ในราคาทุน
|
เดบิต สินค้าคงเหลือ xx
เครดิต ต้นทุนขาย xx
|
|
|
|
|
4)
รับชำระหนี้จากการขายเงินเชื่อ
และให้ส่วนลดจ่าย
|
เดบิต เงินสด xx
ส่วนลดจ่าย xx
เครดิต ลูกหนี้การค้า xx
|
เดบิต เงินสด xx
ส่วนลดจ่าย xx
เครดิต ลูกหนี้การค้า xx
|
|
|
|
สรุปวิธีการปิดบัญชีของกิจการซื้อ
- ขายสินค้า
1. การปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
รายได้ และค่าใช้จ่าย
|
|
|
บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual
Inventory Method)
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic
Inventory Method)
|
|
การปิดบัญชีโดยผ่านต้นทุนขาย
|
การปิดบัญชีโดยไม่ผ่านต้นทุนขาย
|
|
1.
ปิดบัญชีขายและรายได้อื่น
เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
|
1.
ปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้าที่มียอดทาง
ด้านเดบิตเข้าบัญชีต้นทุนขาย
|
1.
ปิดบัญชีขายรายได้อื่น ๆ ส่งคืน และ
ส่วนลดรับเข้าบัญชีกำไรขาดทุนและ
|
เดบิต ขาย xx
รายได้อื่น xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
|
เดบิต ต้นทุนขาย xx
เครดิต สินค้าคงเหลือ
(ต้นงวด) xx
ซื้อ xx
ค่าขนส่งเข้า xx
|
บันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวด
เดบิต ขาย xx
รายได้อื่น xx
ส่งคืน xx
ส่วนลดรับ xx
สินค้าคงเหลือ
(ปลายงวด) xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
|
|
|
|
.
|
|
|
บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual
Inventory Method)
|
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic
Inventory Method)
|
|
การปิดบัญชีโดยผ่านต้นทุนขาย
|
การปิดบัญชีโดยไม่ผ่านต้นทุนขาย
|
|
2.
ปิดบัญชีรับคืน ส่วนลดจ่าย และค่าใช้
จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน
|
2.
ปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้าที่มียอดทาง
ด้านเครดิตเข้าบัญชีต้นทุนขาย
และ
|
2.
ปิดบัญชีสินค้าคงเหลือต้นงวด รับคืน
และส่วนลดจ่าย และค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ
|
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต รับคืน xx
ส่วนลดจ่าย xx
ต้นทุนขาย xx
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ xx
|
บันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวด
เดบิต ส่งคืน xx
ส่วนลดรับ xx
สินค้าคงเหลือ
(ปลายงวด) xx
เครดิต ต้นทุนขาย xx
|
เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต สินค้าคงเหลือ
(ต้นงวด) xx
รับคืน xx
ส่วนลดจ่าย xx
ซื้อ xx
ค่าขนส่งเข้า xx
ค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ xx
|
|
3.
ปิดบัญชีขายและรายได้อื่น ๆ เข้าบัญชี
กำไรขาดทุน
เดบิต ขาย xx
รายได้อื่น xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
|
|
|
4. ปิดบัญชีรับคืน ส่วนลดจ่าย ต้นทุนขาย
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต รับคืน xx
ส่วนลดจ่าย xx
ต้นทุนขาย–
xx
ค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ xx
|
|
2. การปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีกำไรสะสม
1) ถ้ามีกำไรสุทธิ
เดบิต กำไรขาดทุน xx
เครดิต กำไรสะสม xx
2) ถ้ามีขาดทุนสุทธิ
เดบิต กำไรสะสม xx
เครดิต กำไรขาดทุน xx
3. การปิดบัญชีเงินปันผลจ่ายเข้าบัญชีกำไรสะสม
เดบิต กำไรสะสม xx
เครดิต เงินปันผลจ่าย xx
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น