วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่ 1 รูปแบบธุรกิจและการจดทะเบียนธุรกิจ(วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)

เรื่องที่ 1 รูปแบบธุรกิจและการจดทะเบียนธุรกิจ (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)


การดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มิใช่สิ่งที่จะกระทำได้ง่ายนักสำหรับทุกคน ผู้ประกอบการจึงต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกประเภท และชนิดของธุรกิจให้เหมาะสม โดยการพิจารณาความยากง่ายของการก่อตั้ง ข้อดีข้อเสียของธุรกิจและการหาแหล่งเงินทุน ฯ ในปัจจุบันการเลือกดำเนินธุรกิจมีหลายประเภทหลายชนิดให้ผู้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการ ความรู้ความสามารถ เงินทุน และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนั้น
       นักบัญชีมีความจำเป็นต้องศึกษารูปแบบของธุรกิจเพื่อออกแบบ และวางระบบเอกสาร ตลอดจนการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดไว้สำหรับแต่ละประเภทของกิจการ
       รูปแบบของธุรกิจมีดังนี้
       1.  เจ้าของคนเดียว (Sold Proprietorship)
       2.  ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
       3.  บริษัทจำกัด (Limited Company)
       4.  บริษัทมหาชน (Public Company)
       5.  สหกรณ์ (Co-Operation)
       6.  รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)
       7.  แฟรนไชส์  (Franchise)
       8.  กิจการร่วมค้า (Join Venter)
       9.  การรวมกิจการ  (Business  Combination)
       สำหรับในรายวิชากระบวนการจัดทำบัญชีนี้จะกล่าวถึงเพียงรูปแบบธุรกิจ 4 ประเภทเท่านั้นนอกนั้นให้นักเรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม



การจดทะเบียนพาณิชย์
 1   ผู้ประกอบการพาณิชยกิจที่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ จะต้องมีชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ  และต้องจดทะเบียนภายใน  30 วัน
 2   ธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  ได้แก่          
     2.1 กิจการเจ้าของคนเดียว         
     2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ         
     2.3 นิติบุคคลต่างประเทศ        
     2.4 บริษัทจำกัด  หรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ประกอบพาณิชยกิจ  การขายหรือให้เช่าแผ่นซีดี  แถบบันทึก  วีดิทัศน์  
แผ่นวีดิทัศน์  ดีวีดีหรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล  เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
3   สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร  ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์   ณ  สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจในเขตพื้นที่  ในเขตจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ 
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด   กรณีที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง

การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
        
ห้างหุ้นส่วน  หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยการร่วมกันของกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงจะดำเนินธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งผลกำไรจากการดำเนินงาน
        
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเป็นการประกอบการที่มีบุคคลตั้งแต่ 
2
คนขึ้นไป ทำสัญญาตกลงกันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยการแบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจนั้น การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนกระทำได้ง่ายโดยเฉพาะห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งไม่ต้องจดทะเบียน
เพียงแต่ไปยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มต้นกิจการ ซึ่งจะต้องมีคำว่า "ห้างหุ้นส่วน" หรือ "ห้างหุ้นส่วนสามัญ" นำหน้าชื่อห้างเสมอ ส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องจดทะเบียนเสมอ

การจดทะเบียนบริษัท
        บริษัท  เป็นกิจการที่ตั้งขึ้นโดยการร่วมลงทุนของกลุ่มคนเพื่อกระทำกิจการธุรกิจร่วมกันโดยตั้งขึ้นในรูปแบบของนิติบุคคลมีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน ผู้ที่ลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทเรียกว่า "ผู้ถือหุ้น" (Shareholders) โดยผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบในหนี้สินจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ถือและผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน 
เรียกว่า เงินปันผล  (Dividends)

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1  ผู้ประกอบที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่ผู้ประกอบการที่มียอดรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน  1,800,000 บาทต่อปีขึ้นไป  ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ  หรือภายใน 30 วัน  นับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี  ส่วนผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้  ถ้าประสงค์จะขอจดทะเบียนให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ทันที
    2  สถานที่รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเขตกรุงเทพมหานคร  ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน  ณ  ที่ว่าการเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่  หรือสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
    1  ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ   ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
    2 สถานที่ยื่นจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะสถานที่เดียวกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น