วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

รายงาน วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน

รายงาน
วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน 3207 – 2009 (20 คะแนน)

คำสั่ง ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้ระดมความคิดภายในกลุ่มในการจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยให้ยกกรณีตัวอย่างของสมาชิกในกลุ่มมา 1 บริษัท โดยมีเนื้อหาในรายงาน ดังนี้
1. ปกรายงาน “รายงาน เรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัท........”
- เสนอ อ.นัฎฐภัทร์ ศรัทธาเจนสุข
2. คำนำ , สารบัญ
3. ชื่อบริษัท ,ประวัติ ความเป็นมา ที่ตั้ง , ลักษณะของธุรกิจ ,โครงสร้างองค์กร +รูปภาพ เพิ่มเติม
4. แนวคิด หลักการในการประเมินผลงาน
5. จุดมุ่งหมายในการประเมินผลงานของบริษัท
5. วิธีการประเมินผลงาน ,เครื่องมือที่ใช้ ยกตัวอย่างประกอบ +รูปภาพ
6. ผลดี และผลด้อย ที่ได้จากการประเมินผลงานของบริษัท

สามารถส่งรายงานได้ก่อน วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2559

VDO การประเมินผลงานแบบง่ายๆ (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)




ที่มา : www.youtube.com

วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)

วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
1. การกำหนดมาตราส่วน Graphic Rating Scale กำหนดคุณสมบัติที่สำคัญต่อการปฏิบัติงานเป็นหัวข้อ จัดเรียงเป็น มาตราส่วนจากน้อย---มาก
2. การจัดลำดับ
3. การกระจายตามหลักสถิติ
4.การตัวสอบรายการ
- การตรวจสอบรายการแบบถ่วงน้ำหนัก
- การตรวจสอบรายการแบบกำหนดทางเลือก


5. การบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น ลักษณะการตัดสินใจ ประสิทธิภาพในการทำงาน ความรับผิดชอบ
6. การพิจารณาการปฏิบัติงาน โดยที่ HR จะสอบถามจากหัวหน้างานและบันทึกรายงานต่อผู้บริหาร ระดับสูง
7. การเขียนบันทึกการปฏิบัติงาน หัวหน้าจะจดบันทึกผลการปฎิบัติงาน โดยจะใส่ความคิดเห็นของตนลงไป
ในบันทึกเพื่อสร้างความเข้าใจในอนาคต
8.การประเมินโดยกลุ่ม
ผู้ถูกประเมินจะถูกประเมินจากคณะบุคคล ที่มีความเหมาะสม 3-4 คน
9.การประเมินทางผลงาน
ประเมินจากผลงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

ข้อผิดพลาดที่ควรคำนึงในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. การประเมินโดยมีผลกลางๆ
2. การประเมินโดยใช้เหตุการณ์ใกล้ตัว
3. การกำหนดมาตรฐานที่ต่ำหรือสูงเกินไป
4. การใช้ความประทับใจงานบ้างเรื่องเป็นหลัก
5. การใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล
6. การเอาตัวเองเข้าเปรียบเทียบ
7. การให้ความสำคัญกับระยะเวลาในการทำงาน
8. การมีอคติกับลักษณะบางอย่างของกลุ่มบุคคล

การนำผลลัพธ์จากการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้

1. นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์
- การกำหนดค่าตอบแทน
- การเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง
- การปรับปรุงการปฏิบัติงาน
- การจ้างงาน
การนำผลลัพธ์จากการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้
2. การแจ้งผลประเมิน
การแจ้งผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการให้ ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แกเพนักงาน เพื่อให้รับทราบว่าตนเองปฏิบัติงาน
อยู่ในระดับใดสมควรจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานหรือไม่ เพียงได


เอกสารที่ใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน

แผนภูมิองค์การ
• เอกสารพรรณนางาน
• บันทึกการปฏิบัติงาน
• ทะเบียนประวัติพนักงาน
• แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ประเมินพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน
- ประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

ปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)

ปัญหาการประเมินผลการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)

1. ปัญหาที่เกิดจากผู้ประเมิน
1.1 Halo Effect: ผู้ประเมินให้ความสำคัญกับเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งมากเกินไป
1.2 Pitchfork Effect: ผู้ประเมินตั้งเกณฑ์ในการประเมินสูงเกินไป และประเมินผลต่ำกว่าความเป็นจริง (พวกชอบกดคะแนน)
1.3 Recency Effect: ผู้ประเมินให้ความสำคัญกับพฤติกรรมใกล้กับเวลาประเมินมากเกินไป
1.4 Spillover: ผู้ประเมินนำผลงานที่ผ่านมาแล้วในอดีต (ทั้งในด้านบวกและลบ) มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน/ประเมินผลงานในปัจจุบัน
1.5 Leniency & strictness: ผู้ประเมินบางคนเข้มงวดเกินไป บางคนก็หย่อน/ปล่อยคะแนนเกินไป
1.6 Stereotyping: ผู้ประเมินใช้ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลงานมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน เช่น เพศ พวกพ้อง สถาบันการศึกษา เป็นต้น

2. ปัญหาที่เกิดจากระบบ/เครื่องมือ/วิธีการประเมิน
2.1 เลือกเทคนิค/วิธีการไม่เหมาะสม: ผู้ประเมินเลือกเทคนิคการประเมินไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
2.2 มาตรฐานไม่ชัดเจนหรือไม่มีมาตรฐาน: แบบฟอร์มในการประเมินไม่ มีมาตรฐานที่ชัดเจน ทำให้ผู้ประเมินแต่ละคนอาจเข้าใจไม่ตรงกัน ว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการวัด หรือจะให้ความสำคัญกับปัจจัยใดมากกว่ากัน เป็นต้น

3. ปัญหาที่เกิดจากผู้ถูกประเมิน
3.1 ไม่ยอมรับผลการประเมิน
3.2 คิดว่าผู้ประเมินไม่เป็นธรรม

เทคนิคการแจ้งผลการประเมิน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)

เทคนิคการแจ้งผลการประเมิน Appraisal Feedback Technique(วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)
หลักการแจ้งผลการประเมินที่ดี


ข้อควรระวังในการแจ้งผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน

1 ควรให้ความสำคัญกับการแจ้งผลการประเมิน และทำในบรรยากาศที่เหมาะสม เช่น ไม่ควรประเมินผลระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน เป็นต้น
2 ต้องมีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง และมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อให้พนักงานยอมรับผล
3 ควร ชมก่อนติ และแจ้งผลการประเมินทั้งด้านดี และด้านที่ควรปรับปรุง
4 หัวหน้าควรแจ้งผลการประเมินแก่ลูกน้องด้วยตนเอง
5 หัวหน้าต้องมีความพร้อมในการแจ้งผลการประเมิน พร้อมจะชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกด้าน

ข้อควรระวัง ในการประเมินผลงาน (วิชาการปะเมินผลการปฏิบัติงาน)

ข้อควรระวังในการประเมินผลงาน (วิชาการปะเมินผลการปฏิบัติงาน)

1 Appraisals being conducted too late: ควรมีการ ประเมินผลเป็นระยะ ๆ ไม่ควรรอให้งานเสร็จสมบูรณ์
จึงประเมิน เพราะจะไม่มีโอกาสแก้ไข/ปรับปรุงผลงานที่ผิดพลาดได้
2 When using a rating system, avoid lumping
employees into some middle group: ต้องกล้าประเมินอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ประเมินผลโดยใช้เอกสาร ไม่มีการพูดคุยกัน


การแจ้งผลประเมินการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)

การแจ้งผลประเมินการปฏิบัติงาน (วิชาการประเมินผลการปฏิบัติงาน)

แจ้งผลประเมินให้ลูกน้องทราบ
แจ้งเป้าหมายที่ต้องการให้ทำต่อไป
ชี้แจงข้อสงสัย รับฟังปัญหา/ข้อคิดเห็น
แสดงให้เห็นผลของการประเมินที่เป็นรูปธรรม

รูปแบบการสัมภาษณ์เพื่อแจ้งผลประเมิน

แบบชี้แจง-ชักจูง(Tell and Sell )

1หัวหน้าเป็นผู้แจ้งผลการประเมิน
2หัวหน้าเสนอแนวทางในการปฏิบัติต่อไปแก่พนักงาน เช่น
3บอกให้ลูกน้องทราบถึงผลการประเมิน
4รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของลูกน้อง
5ฟังอย่างตั้งใจ อย่างเข้าใจ
6สรุปความเห็นและความรู้สึกของลูกน้อง
7ไม่โต้แย้ง หรือหักล้างเหตุผลของลูกน้อง

แบบร่วมกันแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
1ให้ลูกน้องสรุปผลงานที่สำเร็จและที่ไม่สำเร็จ ชี้แจงอุปสรรคปัญหาและเรื่องที่ควรปรับปรุง
2สรุปสิ่งที่หัวหน้าเห็นด้วยและความเห็นเพิ่มเติมเรื่องผลงาน
3ช่วยกันสรุปผลการประเมินร่วมกัน
4ให้ลูกน้องเสนอแนวทางปรับปรุงการทำงาน
5สรุปสิ่งที่หัวหน้าเห็นด้วยและความเห็นเพิ่มเติมเรื่องการปรับปรุงผลงาน
6ช่วยกันสรุปแผนการปรับปรุงงานร่วมกัน
7พยายามรับฟัง หาทางออกที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย



วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

VDO งบการเงิน Mind Map (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)




ที่มา : www.youtube.com ,www.dekbunchee.com

VDO การบันทึกบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)




ที่มา : www.youtube.com

การบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)

เรื่องที่ 3 การบันทึกบัญชีธุรกิจซื้อขายสินค้า (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)

เรื่องที่ 3 การบันทึกบัญชีธุรกิจซื้อขายสินค้า (วิชากระบวนการจัดทำบัญชี)

  ธุรกิจซื้อขายสินค้าเป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาจำหน่าย ขนาดของธุรกิจอาจแบ่งได้เป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในธุรกิจขนาดเล็กเจ้าของอาจเป็นผู้ดำเนินการจัดการภายในธุรกิจของตนเอง แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ เจ้าของไม่สามารถจัดการได้เพียงคนเดียว ต้องแบ่งหน้าที่การจัดการเป็นส่วน ๆ ได้แก่ แผนกคลังสินค้า แผนกจัดซื้อ แผนกตรวจรับสินค้า และแผนกบัญชี
               การขายสินค้าจะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การขายเงินสด การขายเงินเชื่อ และการขายผ่อนชำระ เมื่อกิจการขายสินค้าหรือซื้อสินค้าเพื่อจำหน่ายอาจพบว่าสินค้าแตกหักเสียหาย ดังนั้นผู้ซื้อต้องแจ้งให้ผู้ขายทราบ แบ่งเป็น
               1.   ด้านผู้ซื้อ ถ้าผู้ซื้อส่งสินค้าคืนไปยังผู้ขาย เรียกว่า การส่งคืนสินค้า
               2.   ด้านผู้ขาย ถ้ารับคืนสินค้าจากผู้ซื้อ เรียกว่า การรับคืนสินค้า
               เพื่อเป็นการจูงใจการซื้อสินค้า และการจ่ายชำระเงิน จึงมีการกำหนดการให้ส่วนลด โดยที่ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณมาก จะให้ส่วนลดที่เรียกว่า ส่วนลดการค้าแต่ถ้าซื้อแล้วลูกค้าชำระเงินภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะได้ส่วนลดที่เรียกว่า ส่วนลดเงินสด
               เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า คือ ข้อตกลงในการขนส่งสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แบ่งเป็น
               1.   F.O.B Shipping Point  เป็นการส่งมอบสินค้าต้นทาง ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เรียกว่า ค่าขนส่งเข้า
               2.   F.O.B Destination เป็นการส่งมอบสินค้าปลายทาง ผู้ขายเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เรียกว่า ค่าขนส่งออก)

               การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ แบ่งเป็น ด้านผู้ซื้อ และด้านผู้ขาย

ด้านผู้ซื้อ
ด้านผู้ขาย
1.  การซื้อสินค้า
2.  การจ่ายค่าขนส่งเข้า
3.  การส่งคืนสินค้า
4.  การชำระหนี้ค่าสินค้าได้รับส่วนลดรับ
1.  การขายสินค้า
2.  การจ่ายค่าขนส่งออก
3.  การรับคืนสินค้า
4.  การรับชำระหนี้ค่าสินค้าได้ให้ส่วนลดจ่าย

                วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ มี 2 วิธี คือ
               1.   วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)
               2.   วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด  (Periodic Inventory Method)

               การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าทั้ง 2 วิธี มีความแตกต่าง จึงมีผลทำให้การปิดบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ และงบกำไรขาดทุน มีความแตกต่าง แต่งบดุลจะเหมือนกัน

 สรุปวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ




รายการ
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual Inventory Method)
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic Inventory Method)
รายการด้านการซื้อสินค้า


1) ซื้อสินค้าเป็นเงินสด หรือเงินเชื่อ
เดบิต  สินค้าคงเหลือ                    xx
          เครดิต  เงินสด / เจ้าหนี้การค้า     xx
เดบิต  ซื้อ                                    xx
          เครดิต  เงินสด / เจ้าหนี้การค้า     xx



2) จ่ายค่าขนส่งเข้า
      2.1 กิจการจ่ายค่าขนส่งเอง

เดบิต  สินค้าคงเหลือ                    xx
          เครดิต  เงินสด                            xx

เดบิต  ค่าขนส่งเข้า                       xx
          เครดิต  เงินสด                            xx



      2.2 ผู้ขายจ่ายค่าขนส่งแทน
            กิจการ
เดบิต  สินค้าคงเหลือ                    xx
          เครดิต  เจ้าหนี้การค้า                 xx
เดบิต  ค่าขนส่งเข้า                       xx
          เครดิต  เจ้าหนี้การค้า                 xx



3) ส่งคืนสินค้า
เดบิต  เงินสด / เจ้าหนี้การค้า        xx
          เครดิต  สินค้าคงเหลือ                 xx
เดบิต  เงินสด / เจ้าหนี้การค้า        xx
          เครดิต  ส่งคืน                             xx



4) จ่ายชำระหนี้จากการซื้อเชื่อและ
     ได้รับส่วนลด
เดบิต  เจ้าหนี้การค้า                     xx
          เครดิต  เงินสด                            xx
                      สินค้าคงเหลือ                 xx
เดบิต  เจ้าหนี้การค้า                     xx
          เครดิต  เงินสด                            xx
                      ส่วนลดรับ                      xx














รายการ
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual Inventory Method)
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด
(Periodic Inventory Method)
รายการด้านการขายสินค้า


1)  ขายสินค้า
      1.1 การขายสินค้าเป็นเงินสด
            หรือเป็นเงินเชื่อในราคาขาย

เดบิต  เงินสด / ลูกหนี้การค้า         xx
          เครดิต  ขาย                               xx

เดบิต  เงินสด / ลูกหนี้การค้า         xx
          เครดิต  ขาย                               xx



      1.2 บันทึกต้นทุนขายในราคา
            ทุนของสินค้า
เดบิต  ต้นทุนขาย                         xx
          เครดิต  สินค้าคงเหลือ                 xx




2)  จ่ายค่าขนส่งออก
      2.1 กิจการจ่ายค่าขนส่งออก

เดบิต  ค่าขนส่งออก                      xx
          เครดิต  เงินสด                            xx

เดบิต  ค่าขนส่งออก                      xx
          เครดิต  เงินสด                            xx



      2.2 ผู้ซื้อจ่ายค่าขนส่งแทน
            กิจการ
เดบิต  ค่าขนส่งออก                      xx
          เครดิต  ลูกหนี้การค้า                  xx
เดบิต  ค่าขนส่งออก                      xx
          เครดิต  ลูกหนี้การค้า                  xx



3)  รับคืนสินค้า
      3.1 การรับคืนสินค้าใน
            ราคาขาย

เดบิต  รับคืน                                xx
          เครดิต  เงินสด / ลูกหนี้การค้า      xx

เดบิต  รับคืน                                xx
          เครดิต  เงินสด / ลูกหนี้การค้า      xx



      3.2 บันทึกต้นทุนขายที่ลดลง
            ในราคาทุน
เดบิต  สินค้าคงเหลือ                    xx
          เครดิต  ต้นทุนขาย                      xx




4) รับชำระหนี้จากการขายเงินเชื่อ
    และให้ส่วนลดจ่าย
เดบิต  เงินสด                               xx
          ส่วนลดจ่าย                        xx
          เครดิต  ลูกหนี้การค้า                  xx
เดบิต  เงินสด                               xx
          ส่วนลดจ่าย                        xx
          เครดิต  ลูกหนี้การค้า                  xx




สรุปวิธีการปิดบัญชีของกิจการซื้อ - ขายสินค้า
            1.  การปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ รายได้ และค่าใช้จ่าย


บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual Inventory Method)
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)
การปิดบัญชีโดยผ่านต้นทุนขาย
การปิดบัญชีโดยไม่ผ่านต้นทุนขาย
1. ปิดบัญชีขายและรายได้อื่น
    เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
1. ปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้าที่มียอดทาง
    ด้านเดบิตเข้าบัญชีต้นทุนขาย
1. ปิดบัญชีขายรายได้อื่น ๆ ส่งคืน และ
    ส่วนลดรับเข้าบัญชีกำไรขาดทุนและ
    เดบิต  ขาย                             xx
              รายได้อื่น                     xx
              เครดิต  กำไรขาดทุน             xx
    เดบิต  ต้นทุนขาย                   xx
              เครดิต  สินค้าคงเหลือ
                          (ต้นงวด)                 xx
                          ซื้อ                          xx
                          ค่าขนส่งเข้า             xx
    บันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวด
    เดบิต  ขาย                             xx
              รายได้อื่น                     xx
              ส่งคืน                          xx
              ส่วนลดรับ                    xx
              สินค้าคงเหลือ
                  (ปลายงวด)              xx
              เครดิต  กำไรขาดทุน             xx



.



บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง
(Perpetual Inventory Method)
วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)
การปิดบัญชีโดยผ่านต้นทุนขาย
การปิดบัญชีโดยไม่ผ่านต้นทุนขาย
2. ปิดบัญชีรับคืน ส่วนลดจ่าย และค่าใช้
    จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน
2. ปิดบัญชีเกี่ยวกับสินค้าที่มียอดทาง
    ด้านเครดิตเข้าบัญชีต้นทุนขาย และ
2. ปิดบัญชีสินค้าคงเหลือต้นงวด รับคืน
    และส่วนลดจ่าย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
    เดบิต  กำไรขาดทุน                 xx
              เครดิต  รับคืน                      xx
                          ส่วนลดจ่าย              xx
                          ต้นทุนขาย               xx
                          ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ        xx

    บันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวด
    เดบิต  ส่งคืน                          xx
              ส่วนลดรับ                    xx
              สินค้าคงเหลือ
              (ปลายงวด)                  xx
              เครดิต  ต้นทุนขาย               xx
    เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
    เดบิต  กำไรขาดทุน                 xx
              เครดิต  สินค้าคงเหลือ
                          (ต้นงวด)                 xx
                          รับคืน                      xx
                          ส่วนลดจ่าย              xx
                          ซื้อ                          xx
                          ค่าขนส่งเข้า             xx
                          ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ        xx

3. ปิดบัญชีขายและรายได้อื่น ๆ เข้าบัญชี
    กำไรขาดทุน
    เดบิต  ขาย                             xx
              รายได้อื่น                     xx
             เครดิต กำไรขาดทุน              xx


4ปิดบัญชีรับคืน ส่วนลดจ่าย ต้นทุนขาย
     ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เข้าบัญชีกำไรขาดทุน
    เดบิต  กำไรขาดทุน                 xx
              เครดิต   รับคืน                     xx
                          ส่วนลดจ่าย              xx
                          ต้นทุนขาย    xx
                          ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ        xx


               2.    การปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีกำไรสะสม
                     1)   ถ้ามีกำไรสุทธิ
                           เดบิต  กำไรขาดทุน                                       xx
                                      เครดิต  กำไรสะสม                                         xx

                     2)   ถ้ามีขาดทุนสุทธิ
                           เดบิต   กำไรสะสม                                        xx
                                      เครดิต  กำไรขาดทุน                                       xx

               3.    การปิดบัญชีเงินปันผลจ่ายเข้าบัญชีกำไรสะสม
                           เดบิต   กำไรสะสม                                        xx
                                      เครดิต  เงินปันผลจ่าย                                    xx